มะเขือเทศ เป็นพืชตระกูลพริกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรม และมะเขือเทศรับประทานผลสด มีผู้นิยมบริโภคกันแพร่หลายทั้งในรูปผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ เช่น ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ
มะเขือเทศต้องการสภาพอากาศค่อนข้างเย็น แต่ถ้าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส จะทำให้มะเขือเทศไม่ติดผลหรือติดผลได้น้อย ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดคือดินร่วน ที่มีอินทรียวัตถุสูงและระบายน้ำได้ดีนั้นต้องมี pH ประมาณ 6-6.8 มีความชื้นในดินพอเหมาะ น้ำไม่ขังแฉะ และต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวัน
สำหรับมะเขือเทศที่ปลูกในประเทศ ไทยมี 2 ชนิดคือ ที่ใช้รับประทานสด มีทั้งแบบผลเล็กและผลโต แบบผลเล็กนิยมที่มีสีชมพูมากกว่าสีแดง แบบผลโตมักมีผล ทรงกลมคล้ายแอปเปิ้ล ผลสีเขียว มีไหล่เขียว เมื่อสุกจะสีแดงจัด เนื้อหนาแข็ง เปลือกไม่เหนียว มีจำนวนช่องในผลมากและไม่กลวง
และชนิดส่งโรงงานซึ่งจะเป็นพันธุ์ที่สุกพร้อมกันเป็นส่วนใหญ่ ขั้วผลสุกมีสีแดงจัดตลอดผล ไส้กลางผลสั้นเล็ก และไม่แข็ง ผลจะแน่น แข็ง เปลือกหนาและเหนียว
ในการปลูกต้องพิจารณาดินควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี กำจัดวัชพืชในแปลงปลูกให้หมด ถ่ายเทอากาศได้ดี ในแปลงปลูกขุดไถดินให้ลึก 25-30 เซนติเมตร ตากดินไว้ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วประมาณ 4-5 ตันต่อพื้นที่ 1 ไร่ คลุกเคล้าลงไปในดิน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน แล้วพรวนย่อยบนผิวหน้าดินให้มีขนาดเล็กลง ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงดิน
ระยะปลูกที่เหมาะสมของมะเขือเทศประเภทที่ปลูกโดยไม่ใช้ค้างใช้ระยะ ห่างระหว่างต้นและระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 50×50 เซนติเมตร ส่วนประเภทที่ปลูกโดยใช้ค้างใช้ระยะประมาณ 30-40×70 เซนติเมตร
ในการบำรุงควรใช้ปุ๋ยคอก ซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่ได้จากสิ่งขับถ่ายของสัตว์หรือมูลสัตว์ เช่น โค กระบือ แกะ ม้า สุกร เป็ด ไก่ ค้างคาว ก่อนนำไปใช้ต้องหมักไว้ให้เกิดการย่อยสลายก่อน แล้วผสมกับฟางข้าว เศษหญ้า หรือแกลบ ในอัตราส่วนปุ๋ยคอก 4 ส่วน ต่อเศษวัสดุเหลือใช้เหล่านี้ 1 ส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้ธาตุอาหารในปุ๋ยคอกสูญเสียไปโดยการดูดซับธาตุอาหารไว้ มูลสัตว์จะย่อยสลายได้ง่ายและเร็ว เพราะมีค่าสัดส่วนของ C/N ต่ำ การใช้ปุ๋ยมูลสัตว์
ปุ๋ยมูลสัตว์มีปริมาณธาตุอาหารหลักน้อยกว่าปุ๋ยเคมี แต่การใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้เกิดประโยชน์ทางด้านธาตุอาหารพืชและการปรับปรุงคุณสมบัติของดินได้เป็นอย่างดี โดยใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ในอัตรา 1-4 ตันต่อไร่จะทำให้ได้ผลผลิตสูงสุด
ในการใส่ปุ๋ยมูลสัตว์นั้นควรใส่ในช่วง 1–2 สัปดาห์ ก่อนปลูก จะทำให้ธาตุอาหารในปุ๋ยมูลสัตว์ปลดปล่อยออกมาพอดีกับช่วงที่พืชต้องการธาตุอาหาร และยังช่วยลดปฏิกิริยาในการย่อยสลายของปุ๋ยมูลสัตว์ ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อพืชที่เพิ่งงอกได้
อายุการเก็บเกี่ยวของมะเขือเทศจะขึ้นอยู่กับพันธุ์โดยทั่วไปจะเก็บผลได้ เมื่อมีอายุประมาณ 70-90 วัน นับจากเริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยวหมด ประมาณ 4-5 เดือน
การเก็บผลมะเขือเทศประเภทรับประทานสดเพื่อส่งตลาดต้องเก็บในขณะที่ผลยังไม่แก่จัด ผลเริ่มเปลี่ยนเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ เมื่อมะเขือเทศถึงตลาดก็จะเริ่มสุกพอดี ส่วนการเก็บผลเพื่อส่งโรงงานต้องเก็บในขณะที่ผลสุกเป็นสีแดงหรือสีส้มและเก็บไม่ให้มีขั้วผลติดผล
ขอบคุณแหล่งที่มา: เดลินิวส์
มะเขือเทศต้องการสภาพอากาศค่อนข้างเย็น แต่ถ้าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส จะทำให้มะเขือเทศไม่ติดผลหรือติดผลได้น้อย ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดคือดินร่วน ที่มีอินทรียวัตถุสูงและระบายน้ำได้ดีนั้นต้องมี pH ประมาณ 6-6.8 มีความชื้นในดินพอเหมาะ น้ำไม่ขังแฉะ และต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวัน
สำหรับมะเขือเทศที่ปลูกในประเทศ ไทยมี 2 ชนิดคือ ที่ใช้รับประทานสด มีทั้งแบบผลเล็กและผลโต แบบผลเล็กนิยมที่มีสีชมพูมากกว่าสีแดง แบบผลโตมักมีผล ทรงกลมคล้ายแอปเปิ้ล ผลสีเขียว มีไหล่เขียว เมื่อสุกจะสีแดงจัด เนื้อหนาแข็ง เปลือกไม่เหนียว มีจำนวนช่องในผลมากและไม่กลวง
และชนิดส่งโรงงานซึ่งจะเป็นพันธุ์ที่สุกพร้อมกันเป็นส่วนใหญ่ ขั้วผลสุกมีสีแดงจัดตลอดผล ไส้กลางผลสั้นเล็ก และไม่แข็ง ผลจะแน่น แข็ง เปลือกหนาและเหนียว
ในการปลูกต้องพิจารณาดินควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี กำจัดวัชพืชในแปลงปลูกให้หมด ถ่ายเทอากาศได้ดี ในแปลงปลูกขุดไถดินให้ลึก 25-30 เซนติเมตร ตากดินไว้ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วประมาณ 4-5 ตันต่อพื้นที่ 1 ไร่ คลุกเคล้าลงไปในดิน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน แล้วพรวนย่อยบนผิวหน้าดินให้มีขนาดเล็กลง ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงดิน
ระยะปลูกที่เหมาะสมของมะเขือเทศประเภทที่ปลูกโดยไม่ใช้ค้างใช้ระยะ ห่างระหว่างต้นและระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 50×50 เซนติเมตร ส่วนประเภทที่ปลูกโดยใช้ค้างใช้ระยะประมาณ 30-40×70 เซนติเมตร
ในการบำรุงควรใช้ปุ๋ยคอก ซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่ได้จากสิ่งขับถ่ายของสัตว์หรือมูลสัตว์ เช่น โค กระบือ แกะ ม้า สุกร เป็ด ไก่ ค้างคาว ก่อนนำไปใช้ต้องหมักไว้ให้เกิดการย่อยสลายก่อน แล้วผสมกับฟางข้าว เศษหญ้า หรือแกลบ ในอัตราส่วนปุ๋ยคอก 4 ส่วน ต่อเศษวัสดุเหลือใช้เหล่านี้ 1 ส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้ธาตุอาหารในปุ๋ยคอกสูญเสียไปโดยการดูดซับธาตุอาหารไว้ มูลสัตว์จะย่อยสลายได้ง่ายและเร็ว เพราะมีค่าสัดส่วนของ C/N ต่ำ การใช้ปุ๋ยมูลสัตว์
ปุ๋ยมูลสัตว์มีปริมาณธาตุอาหารหลักน้อยกว่าปุ๋ยเคมี แต่การใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้เกิดประโยชน์ทางด้านธาตุอาหารพืชและการปรับปรุงคุณสมบัติของดินได้เป็นอย่างดี โดยใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ในอัตรา 1-4 ตันต่อไร่จะทำให้ได้ผลผลิตสูงสุด
ในการใส่ปุ๋ยมูลสัตว์นั้นควรใส่ในช่วง 1–2 สัปดาห์ ก่อนปลูก จะทำให้ธาตุอาหารในปุ๋ยมูลสัตว์ปลดปล่อยออกมาพอดีกับช่วงที่พืชต้องการธาตุอาหาร และยังช่วยลดปฏิกิริยาในการย่อยสลายของปุ๋ยมูลสัตว์ ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อพืชที่เพิ่งงอกได้
อายุการเก็บเกี่ยวของมะเขือเทศจะขึ้นอยู่กับพันธุ์โดยทั่วไปจะเก็บผลได้ เมื่อมีอายุประมาณ 70-90 วัน นับจากเริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยวหมด ประมาณ 4-5 เดือน
การเก็บผลมะเขือเทศประเภทรับประทานสดเพื่อส่งตลาดต้องเก็บในขณะที่ผลยังไม่แก่จัด ผลเริ่มเปลี่ยนเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ เมื่อมะเขือเทศถึงตลาดก็จะเริ่มสุกพอดี ส่วนการเก็บผลเพื่อส่งโรงงานต้องเก็บในขณะที่ผลสุกเป็นสีแดงหรือสีส้มและเก็บไม่ให้มีขั้วผลติดผล
ขอบคุณแหล่งที่มา: เดลินิวส์
ความคิดเห็น