ฟัก จัดเป็นพืชล้มลุกจำพวกไม้เถาเช่นเดียวกับบวบ มะระ หรือแตงชนิดอื่น ๆ มีถิ่นกำเนิดไม่แน่นอนระหว่างทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา นิยมเพาะปลูกกันมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียใต้
ลักษณะของผลจะเป็นรูปทรงกระบอกปลายมน มีสีเขียวแก่จะเรียกว่า ฟัก ถ้าเป็นพันธุ์เล็กผิวมีสีเขียวอ่อน ๆ เราจะเรียกว่า แฟง หรือ ฟักแฟง แต่ถ้าเป็นพันธุ์ที่ลักษณะของผลค่อนข้างกลมสีเขียวแก่ ๆ จะเรียกว่า ฟักหอม หรือถ้าเป็นพันธุ์ที่รสขมจะเรียกว่า ฟักขม เป็นต้น
ฟักเป็นพืชที่ใช้บริโภคส่วนของผล สามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบดินร่วนปนทราย แดดจัด สามารถประกอบอาหารได้หลายแบบทั้งอาหารคาว และอาหารหวาน
ในการปลูกที่เหมาะสมระยะปลูกระหว่างแถวควรอยู่ที่ 1-1.50 เมตร ระหว่างต้น 2-2.50 เมตร เป็นพืชที่ต้องการพื้นที่ปลูกมาก การเตรียมดิน ให้พลิกดินลึกประมาณ 25 -30 เซนติ เมตร ตากดินทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ แล้วย่อยดินให้ละเอียด หว่านปูนขาวประมาณ 100-300 กิโลกรัม ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2,000 – 2,500 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่หากปลูกในเชิงพาณิชย์
ทำการคลุกเคล้าดินกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกให้เข้ากัน หลังเตรียมแปลงปลูกและขุดหลุมปลูกตามระยะที่กำหนดแล้ว หยอดเมล็ด 2-3 เมล็ดต่อหลุม ลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วกลบหลุมหรือคลุมด้วยฟางแห้ง เพื่อรักษาความชื้นของดิน และรดน้ำสม่ำเสมอทุกวัน อายุ 10-14 วัน หรือมีใบจริง 2 -4 ใบ ควรถอนแยกเหลือ 2 ต้นต่อหลุม
หลังปลูกควรให้น้ำสม่ำเสมอและเพียงพอ ไม่ควรให้ขาดน้ำโดยเฉพาะระยะออกดอก และติดผล เพราะจะทำให้ดอกร่วง และไม่ติดผล เมื่อใกล้อายุการเก็บเกี่ยวควรเลิกการให้น้ำ ซึ่งจะอยู่ที่ 15 วันก่อนเก็บผลผลิต การทำค้าง เมื่อฟักเริ่มเลื้อยหรือมีอายุประมาณ 15-20 วัน ควรทำค้างหรือร้านเพื่อให้เลื้อยเกาะขึ้นไป ปักไม้ค้าง ยาว 2 -2.50 เมตร แล้วเอนปลายเข้าหากันแบบซุ้มทางเดินที่มีไม้ค้างพาดขวางเชื่อมต่อกันแบบครึ่งวงกลมประมาณ 2 -3 ช่วง ช่วงละ 40 -50 เซนติเมตร หรือทำเป็นค้างผูกเป็นร้านสูง ประมาณ 1.5-2.0 เมตร สำหรับปลูกเชิงพาณิชย์ เพื่อให้เหมาะและสะดวกต่อการทำงาน นอกจากนี้อาจใช้ค้างธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว เช่นไม้พุ่มเล็ก ๆ รั้วบ้าน ซึ่งเหมาะสำหรับการปลูก แบบผักสวนครัว
การเก็บเกี่ยว หลังหยอดเมล็ดจนถึงอายุการเก็บเกี่ยว 60-70 วัน หรือสังเกตได้จากผลว่าเริ่มมีไขสีขาวจับผล โดยใช้มีดคม ๆ ตัดที่ขั้วของผล การเก็บควรเหลือขั้วติดไว้ด้วย เพื่อช่วยให้เก็บรักษาได้นานขึ้น
สำหรับในประเทศไทยผลฟักจะนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารเป็นหลัก ทั้งอาหารประเภทคาวและหวาน เช่น ต้ม ผัด แกง หรือทำเป็นขนมหวานในช่วงเทศกาล บริโภคได้ทั้งแบบดิบและสุก และสามารถบริโภคได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่ โดยผลอ่อนจะมีรสชาติที่เข้มกว่าผลแก่ และมีน้ำที่มากกว่า
ขอบคุณแหล่งที่มา: เดลินิวส์
ลักษณะของผลจะเป็นรูปทรงกระบอกปลายมน มีสีเขียวแก่จะเรียกว่า ฟัก ถ้าเป็นพันธุ์เล็กผิวมีสีเขียวอ่อน ๆ เราจะเรียกว่า แฟง หรือ ฟักแฟง แต่ถ้าเป็นพันธุ์ที่ลักษณะของผลค่อนข้างกลมสีเขียวแก่ ๆ จะเรียกว่า ฟักหอม หรือถ้าเป็นพันธุ์ที่รสขมจะเรียกว่า ฟักขม เป็นต้น
ฟักเป็นพืชที่ใช้บริโภคส่วนของผล สามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบดินร่วนปนทราย แดดจัด สามารถประกอบอาหารได้หลายแบบทั้งอาหารคาว และอาหารหวาน
ในการปลูกที่เหมาะสมระยะปลูกระหว่างแถวควรอยู่ที่ 1-1.50 เมตร ระหว่างต้น 2-2.50 เมตร เป็นพืชที่ต้องการพื้นที่ปลูกมาก การเตรียมดิน ให้พลิกดินลึกประมาณ 25 -30 เซนติ เมตร ตากดินทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ แล้วย่อยดินให้ละเอียด หว่านปูนขาวประมาณ 100-300 กิโลกรัม ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2,000 – 2,500 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่หากปลูกในเชิงพาณิชย์
ทำการคลุกเคล้าดินกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกให้เข้ากัน หลังเตรียมแปลงปลูกและขุดหลุมปลูกตามระยะที่กำหนดแล้ว หยอดเมล็ด 2-3 เมล็ดต่อหลุม ลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วกลบหลุมหรือคลุมด้วยฟางแห้ง เพื่อรักษาความชื้นของดิน และรดน้ำสม่ำเสมอทุกวัน อายุ 10-14 วัน หรือมีใบจริง 2 -4 ใบ ควรถอนแยกเหลือ 2 ต้นต่อหลุม
หลังปลูกควรให้น้ำสม่ำเสมอและเพียงพอ ไม่ควรให้ขาดน้ำโดยเฉพาะระยะออกดอก และติดผล เพราะจะทำให้ดอกร่วง และไม่ติดผล เมื่อใกล้อายุการเก็บเกี่ยวควรเลิกการให้น้ำ ซึ่งจะอยู่ที่ 15 วันก่อนเก็บผลผลิต การทำค้าง เมื่อฟักเริ่มเลื้อยหรือมีอายุประมาณ 15-20 วัน ควรทำค้างหรือร้านเพื่อให้เลื้อยเกาะขึ้นไป ปักไม้ค้าง ยาว 2 -2.50 เมตร แล้วเอนปลายเข้าหากันแบบซุ้มทางเดินที่มีไม้ค้างพาดขวางเชื่อมต่อกันแบบครึ่งวงกลมประมาณ 2 -3 ช่วง ช่วงละ 40 -50 เซนติเมตร หรือทำเป็นค้างผูกเป็นร้านสูง ประมาณ 1.5-2.0 เมตร สำหรับปลูกเชิงพาณิชย์ เพื่อให้เหมาะและสะดวกต่อการทำงาน นอกจากนี้อาจใช้ค้างธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว เช่นไม้พุ่มเล็ก ๆ รั้วบ้าน ซึ่งเหมาะสำหรับการปลูก แบบผักสวนครัว
การเก็บเกี่ยว หลังหยอดเมล็ดจนถึงอายุการเก็บเกี่ยว 60-70 วัน หรือสังเกตได้จากผลว่าเริ่มมีไขสีขาวจับผล โดยใช้มีดคม ๆ ตัดที่ขั้วของผล การเก็บควรเหลือขั้วติดไว้ด้วย เพื่อช่วยให้เก็บรักษาได้นานขึ้น
สำหรับในประเทศไทยผลฟักจะนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารเป็นหลัก ทั้งอาหารประเภทคาวและหวาน เช่น ต้ม ผัด แกง หรือทำเป็นขนมหวานในช่วงเทศกาล บริโภคได้ทั้งแบบดิบและสุก และสามารถบริโภคได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่ โดยผลอ่อนจะมีรสชาติที่เข้มกว่าผลแก่ และมีน้ำที่มากกว่า
ขอบคุณแหล่งที่มา: เดลินิวส์
ความคิดเห็น