มันเทศญี่ปุ่น คนไทยนิยมเรียกว่ามันหวานญี่ปุ่น ซึ่งจะคล้ายกับมันเทศในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีการนำมาปลูกในประเทศไทยมากขึ้น ด้วยประชาชนนิยมบริโภค
การปลูกมันเทศญี่ปุ่นสไตล์ชาวญี่ปุ่นจากบทความแปล เริ่มแรกจะอยู่ที่การคัดเลือกยอดพันธุ์โดยควรเลือกที่มีลักษณะดี คือมียอดใบประมาณ 6-7 ใบบนเครือ มีสีเขียวและแลดูไม่บอบบาง ก้านเครืออ้วนสมบูรณ์ มีความยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร ช่วงระหว่างใบไม่เว้นระยะยาวห่างจนเกินไป
การเตรียมดินและแปลงเพาะปลูก เกษตรกรญี่ปุ่นที่ปลูกมันชนิดนี้ ซึ่งเกษตรกรไทยก็ได้นำมาเป็นแนวทางนั้น ในการขึ้นแปลงจะพิจารณาถึงประโยชน์ คือสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่าย โดยยกร่องขึ้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ร่องกว้างระหว่างแปลง 30 เซนติเมตร และมีตัวแปลงที่กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร
เมื่อขึ้นแปลงเสร็จแล้วเจาะหลุมกลางแปลงใส่ปุ๋ยคอกลงไปรองพื้น ที่เหมาะสมคือปุ๋ยมูลวัว ปุ๋ยมูลไก่ จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี ซึ่งปุ๋ยที่มี P และ K สูงจะช่วยทำให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น
ในการปลูกโดยใช้ยอดพันธุ์ปักลงดินทำได้ 2 วิธี คือในกรณีที่ดินมีความชื้นต่ำ หรือ แห้งง่าย เกษตรกรจะปลูกแบบนำต้นวางแบบราบไปกับดินแล้วกลบ ส่วนดินที่มีความชื้นคงที่ เกษตรกรจะฝังต้นลงไปให้เหลือยอดโผล่พ้นดินบริเวณหลุมปลูกเล็กน้อย ซึ่งจะทำให้ผลผลิตติดเป็นพวงเก็บเกี่ยวได้ง่าย
สภาพภูมิอากาศในประเทศไทยที่เป็นแบบร้อนชื้นนั้น ได้รับการแนะนำจากผู้รู้ว่า ควรปลูกแบบปักยอดลงหลุมปลูก เพราะสภาพอากาศค่อนข้างคงที่ คือไม่แห้งบ้างชื้นบ้างแบบสลับกันไปเช่นที่ประเทศญี่ปุ่น
หลังปลูกประมาณ 2 เดือนมันเทศญี่ปุ่นจะเริ่มแตกยอดเลื้อยลงล่างแปลงปลูกและเริ่มหยั่งรากลงดิน ช่วงระหว่างนี้ให้เกษตรกรถอนเครือที่เลื้อยลงแปลงออก โดยถอนไม่ให้ต้นขาด เพราะต้นที่เลื้อยออกหลังจากหยั่งรากใหม่แล้ว รากใหม่จะกลายเป็นหัวมันเทศ ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณหัวมันตามที่ต้องการเพิ่มขึ้น
แต่ขนาดอาจจะเล็กหรือความหวานอาจจะลดลงได้หากมีในปริมาณมาก เนื่องจากหัวมันเทศญี่ปุ่นที่เกิดใหม่นอกแปลงนั้นได้ดึงสารอาหารจากหัวมันเทศหลักที่เราปลูกในแปลงไป
หลังจากปลูกประมาณ 100-120 วัน ก็สามารถขุดมันเทศญี่ปุ่นขึ้นมาบริโภคหรือจำหน่ายได้ การเก็บเกี่ยวนั้นควรดึงเถาขึ้นมาเบา ๆ บริเวณโคนต้นเพื่อดูว่ามีหัวหรือไม่ หากโคนต้นมีสภาพหนัก หรือ ถ้าเอามือคุ้ยดินดูบริเวณโคนต้นแล้วเห็นรากใหญ่ ๆ ก็แสดงว่าสามารถขุดขึ้นมาใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการได้
สำหรับต้นพันธุ์ในประเทศไทยปัจจุบันมีจำหน่ายโดยทั่วไปในแหล่งปลูกในราคาที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละพื้นที่ ส่วนผลผลิตนั้นส่วนใหญ่ก่อนปลูกเกษตรกรจะติดต่อแหล่งรับซื้อไว้เป็นการล่วงหน้า เมื่อปลูกถึงวันที่สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว ผู้รับซื้อจะเดินทางมารับซื้อถึงแปลงปลูก
ขอบคุณแหล่งที่มา: เดลินิวส์
การปลูกมันเทศญี่ปุ่นสไตล์ชาวญี่ปุ่นจากบทความแปล เริ่มแรกจะอยู่ที่การคัดเลือกยอดพันธุ์โดยควรเลือกที่มีลักษณะดี คือมียอดใบประมาณ 6-7 ใบบนเครือ มีสีเขียวและแลดูไม่บอบบาง ก้านเครืออ้วนสมบูรณ์ มีความยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร ช่วงระหว่างใบไม่เว้นระยะยาวห่างจนเกินไป
การเตรียมดินและแปลงเพาะปลูก เกษตรกรญี่ปุ่นที่ปลูกมันชนิดนี้ ซึ่งเกษตรกรไทยก็ได้นำมาเป็นแนวทางนั้น ในการขึ้นแปลงจะพิจารณาถึงประโยชน์ คือสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่าย โดยยกร่องขึ้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ร่องกว้างระหว่างแปลง 30 เซนติเมตร และมีตัวแปลงที่กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร
เมื่อขึ้นแปลงเสร็จแล้วเจาะหลุมกลางแปลงใส่ปุ๋ยคอกลงไปรองพื้น ที่เหมาะสมคือปุ๋ยมูลวัว ปุ๋ยมูลไก่ จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี ซึ่งปุ๋ยที่มี P และ K สูงจะช่วยทำให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น
ในการปลูกโดยใช้ยอดพันธุ์ปักลงดินทำได้ 2 วิธี คือในกรณีที่ดินมีความชื้นต่ำ หรือ แห้งง่าย เกษตรกรจะปลูกแบบนำต้นวางแบบราบไปกับดินแล้วกลบ ส่วนดินที่มีความชื้นคงที่ เกษตรกรจะฝังต้นลงไปให้เหลือยอดโผล่พ้นดินบริเวณหลุมปลูกเล็กน้อย ซึ่งจะทำให้ผลผลิตติดเป็นพวงเก็บเกี่ยวได้ง่าย
สภาพภูมิอากาศในประเทศไทยที่เป็นแบบร้อนชื้นนั้น ได้รับการแนะนำจากผู้รู้ว่า ควรปลูกแบบปักยอดลงหลุมปลูก เพราะสภาพอากาศค่อนข้างคงที่ คือไม่แห้งบ้างชื้นบ้างแบบสลับกันไปเช่นที่ประเทศญี่ปุ่น
หลังปลูกประมาณ 2 เดือนมันเทศญี่ปุ่นจะเริ่มแตกยอดเลื้อยลงล่างแปลงปลูกและเริ่มหยั่งรากลงดิน ช่วงระหว่างนี้ให้เกษตรกรถอนเครือที่เลื้อยลงแปลงออก โดยถอนไม่ให้ต้นขาด เพราะต้นที่เลื้อยออกหลังจากหยั่งรากใหม่แล้ว รากใหม่จะกลายเป็นหัวมันเทศ ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณหัวมันตามที่ต้องการเพิ่มขึ้น
แต่ขนาดอาจจะเล็กหรือความหวานอาจจะลดลงได้หากมีในปริมาณมาก เนื่องจากหัวมันเทศญี่ปุ่นที่เกิดใหม่นอกแปลงนั้นได้ดึงสารอาหารจากหัวมันเทศหลักที่เราปลูกในแปลงไป
หลังจากปลูกประมาณ 100-120 วัน ก็สามารถขุดมันเทศญี่ปุ่นขึ้นมาบริโภคหรือจำหน่ายได้ การเก็บเกี่ยวนั้นควรดึงเถาขึ้นมาเบา ๆ บริเวณโคนต้นเพื่อดูว่ามีหัวหรือไม่ หากโคนต้นมีสภาพหนัก หรือ ถ้าเอามือคุ้ยดินดูบริเวณโคนต้นแล้วเห็นรากใหญ่ ๆ ก็แสดงว่าสามารถขุดขึ้นมาใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการได้
สำหรับต้นพันธุ์ในประเทศไทยปัจจุบันมีจำหน่ายโดยทั่วไปในแหล่งปลูกในราคาที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละพื้นที่ ส่วนผลผลิตนั้นส่วนใหญ่ก่อนปลูกเกษตรกรจะติดต่อแหล่งรับซื้อไว้เป็นการล่วงหน้า เมื่อปลูกถึงวันที่สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว ผู้รับซื้อจะเดินทางมารับซื้อถึงแปลงปลูก
ขอบคุณแหล่งที่มา: เดลินิวส์
ความคิดเห็น