สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เร่งศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคิดค่าน้ำตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 คาดแล้วเสร็จเดือน พ.ค. นี้ ยืนยันเกษตรกรรายย่อยจะไม่ได้รับผลกระทบ
นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า ปัญหาการขาดแคลนน้ำของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จากการเพิ่มขึ้นของประชากรการทำเกษตรกรรมต่อเนื่อง และการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ส่งผลให้มีความต้องการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนสูงเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการบริหารจัดการน้ำ
ปัจจุบันการบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำด้านอุปทาน (Supply) ผ่านโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ ยังไม่เพียงพอจำเป็นต้องมีมาตรการลดอุปสงค์ (Demand) ให้ผู้ใช้น้ำรู้จักคุณค่าของน้ำเพิ่มขึ้น และใช้น้ำอย่างประหยัดควบคู่กันไปทำให้ สทนช. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำโครงการจัดทำหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการคิดค่าน้ำ และจัดทำกฎหมายลำดับรองตามกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรน้ำ (หมวด 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ) ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 เพื่อจัดลำดับความสำคัญการจัดสรรน้ำ สำหรับกิจกรรมการใช้น้ำการกำหนดนิยาม ลักษณะ และรายละเอียดการใช้น้ำแต่ละประเภทและเสนอแนะกรอบอัตราค่าน้ำบนพื้นฐานการบูรณาการจากทุกภาคส่วน
โดยกำหนดอัตราค่าใช้น้ำจะพิจารณา 2 ด้านประกอบกัน คือ ด้านอุปทาน พิจารณาปริมาณน้ำต้นทุนด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการจัดการน้ำทุกกระบวนการ และต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้น้ำ เป็นต้น
ส่วนด้านอุปสงค์ พิจารณาปริมาณความต้องการใช้น้ำเทียบกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ กำลังอยู่ระหว่างศึกษาและรับฟังความเห็นเรื่องการเก็บค่าน้ำอย่างครอบคลุมทุกมิติ โดยการศึกษาจะช่วยให้ทราบว่าการใช้น้ำประเภทใดบ้างที่ภาครัฐควรต้องเก็บค่าน้ำและจะเรียกเก็บอัตราเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสมในกรอบการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะ 3 ประเภท
นายสมเกียรติ กล่าวย้ำว่า ส่วนของความกังวลการเก็บค่าน้ำจะกระทบต่อเกษตรกรหรือไม่นั้น หากเป็นเกษตรกรรายย่อยจะไม่ได้รับผลกระทบแน่นอน โดยสทนช. จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำหลักการไปคำนวณและประเมินเรียกเก็บค่าน้ำจากผู้ใช้น้ำในอัตราที่เหมาะสมคาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จภายในเดือนพ.ค. นี้
นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า ปัญหาการขาดแคลนน้ำของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จากการเพิ่มขึ้นของประชากรการทำเกษตรกรรมต่อเนื่อง และการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ส่งผลให้มีความต้องการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนสูงเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการบริหารจัดการน้ำ
ปัจจุบันการบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำด้านอุปทาน (Supply) ผ่านโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ ยังไม่เพียงพอจำเป็นต้องมีมาตรการลดอุปสงค์ (Demand) ให้ผู้ใช้น้ำรู้จักคุณค่าของน้ำเพิ่มขึ้น และใช้น้ำอย่างประหยัดควบคู่กันไปทำให้ สทนช. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำโครงการจัดทำหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการคิดค่าน้ำ และจัดทำกฎหมายลำดับรองตามกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรน้ำ (หมวด 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ) ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 เพื่อจัดลำดับความสำคัญการจัดสรรน้ำ สำหรับกิจกรรมการใช้น้ำการกำหนดนิยาม ลักษณะ และรายละเอียดการใช้น้ำแต่ละประเภทและเสนอแนะกรอบอัตราค่าน้ำบนพื้นฐานการบูรณาการจากทุกภาคส่วน
โดยกำหนดอัตราค่าใช้น้ำจะพิจารณา 2 ด้านประกอบกัน คือ ด้านอุปทาน พิจารณาปริมาณน้ำต้นทุนด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการจัดการน้ำทุกกระบวนการ และต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้น้ำ เป็นต้น
ส่วนด้านอุปสงค์ พิจารณาปริมาณความต้องการใช้น้ำเทียบกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ กำลังอยู่ระหว่างศึกษาและรับฟังความเห็นเรื่องการเก็บค่าน้ำอย่างครอบคลุมทุกมิติ โดยการศึกษาจะช่วยให้ทราบว่าการใช้น้ำประเภทใดบ้างที่ภาครัฐควรต้องเก็บค่าน้ำและจะเรียกเก็บอัตราเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสมในกรอบการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะ 3 ประเภท
นายสมเกียรติ กล่าวย้ำว่า ส่วนของความกังวลการเก็บค่าน้ำจะกระทบต่อเกษตรกรหรือไม่นั้น หากเป็นเกษตรกรรายย่อยจะไม่ได้รับผลกระทบแน่นอน โดยสทนช. จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำหลักการไปคำนวณและประเมินเรียกเก็บค่าน้ำจากผู้ใช้น้ำในอัตราที่เหมาะสมคาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จภายในเดือนพ.ค. นี้
ที่มา Voice Online
ความคิดเห็น