‘ชุมชนผาปัง’ จากคนบ้าไผ่ สู่ความเป็นไทด้านพลังงาน
“ผาปัง” ขึ้นแท่นโมเดลแผนพลังงานชุมชน ดึง “ไผ่” ผลิตพลังงาน -แปรรูปครบวงจร ปลดแอกสู่ชุมชนพึ่งพาตนเอง “สนธิรัตน์” ดึงเข้าแผน พร้อมเสนอครม.เดือนธันวาคม ประสานมหาดไทย-กระทรวงทรัพยากรฯร่วมมือ
“ผาปัง” จากชุมชนเล็กๆลับตา ปลายสายส่งไฟฟ้า อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง ผลักดันตัวเองให้ปลดแอกด้านพลังงาน ไม่รอการช่วยเหลือจากรัฐ ไม่ง้อการไฟฟ้าจะลากสายมาถึงหรือไม่ ไม่ง้อก๊าซหุงต้ม (LPG) จากร้านรวงไหน กลายเป็น “ผาปังโมเดล” พื้นที่ศึกษาดูงานของชุมชนต่างๆไปจนถึงผู้กำหนดนโยบาย เพื่อนำไปขยายผลในพื้นที่อื่น ที่นี่มีสิ่งเดียวที่ต้องง้อ คือ “ไผ่” โดยเฉพาะ “ไผ่ซางหม่น” พืชประจำถิ่น เพราะให้ทั้งพลังงาน และเพิ่มเงินเข้ากระเป๋าชุมชน
นอกจากนี้นวัตกรรมที่เราพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และนำมาต่อยอด ทำให้ลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ประหยัดน้ำมันค่าสูบน้ำเพื่อการเกษตรถึง 80% และทำโฮมสเตย์ได้ รองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมอุโมงค์ไผ่ขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศ กว่า 2,500 คนต่อปี
มากไปกว่านั้นเรามีรายได้จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไผ่ อาทิ ตะเกียบ ก้านธูป น้ำยาฆ่าเชื้อราจาก น้ำควันไม้จากการเผาถ่าน โดย “ผาปัง” บริหารจัดการในรูป “วิสาหกิจเพื่อสังคม” ปี 2558 ก็สร้างรายได้ 6.4 ล้านบาท ในปี 2562 รายได้ของเราทะลุ 11.2 ล้านบาทแล้ว
“ผาปัง” ขึ้นแท่นโมเดลแผนพลังงานชุมชน ดึง “ไผ่” ผลิตพลังงาน -แปรรูปครบวงจร ปลดแอกสู่ชุมชนพึ่งพาตนเอง “สนธิรัตน์” ดึงเข้าแผน พร้อมเสนอครม.เดือนธันวาคม ประสานมหาดไทย-กระทรวงทรัพยากรฯร่วมมือ
“ผาปัง” จากชุมชนเล็กๆลับตา ปลายสายส่งไฟฟ้า อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง ผลักดันตัวเองให้ปลดแอกด้านพลังงาน ไม่รอการช่วยเหลือจากรัฐ ไม่ง้อการไฟฟ้าจะลากสายมาถึงหรือไม่ ไม่ง้อก๊าซหุงต้ม (LPG) จากร้านรวงไหน กลายเป็น “ผาปังโมเดล” พื้นที่ศึกษาดูงานของชุมชนต่างๆไปจนถึงผู้กำหนดนโยบาย เพื่อนำไปขยายผลในพื้นที่อื่น ที่นี่มีสิ่งเดียวที่ต้องง้อ คือ “ไผ่” โดยเฉพาะ “ไผ่ซางหม่น” พืชประจำถิ่น เพราะให้ทั้งพลังงาน และเพิ่มเงินเข้ากระเป๋าชุมชน
รังสฤษฏ์ คุณชัยมัง ผู้อำนวยการมูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง เล่าว่า ผมเห็นว่าชุมชนของเรามีไผ่ในพื้นที่เยอะแยะ และไผ่ 1 กก.ก็ให้ค่าความร้อนถึง 30 MJ ขณะที่ไม้ทั่วไปให้ค่าความร้อน 18.5 MJ เทียบเบนซิน 1 ลิตร ให้ค่าความร้อน 35.4 MJ ส่วนดีเซล 1 ลิตร ให้ค่าความร้อน 38 MJ และที่นี่ก็อยู่ปลายสายส่ง เราจึงเริ่มต้นโมเดลที่ เรียกว่า Micro Off-grid Hybrid Syngass-Solar-Battery 20 กิโลวัตต์ แต่ระบบนี้จริงๆขยายได้ตั้งแต่ 50-300 กิโลวัตต์
ระบบคือนำไผ่มาอบเป็น “ถ่านเชื้อเพลิง” ปั่นไฟฟ้า โดยผสมผสานกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ มีแบตเตอรี่ ลิเธี่ยม ไอออน ขนาด 50 กิโลวัตต์ มาช่วยกักเก็บพลังงาน ทำให้ที่นี่มีไฟฟ้าใช้ ไม่ขาดเหมือนเดิม ขณะเดียวกันยังผลิตก๊าซหุงต้ม (LPG) จากถ่านไผ่ด้วย เราเรียกโมเดลที่คิดค้นขึ้นว่า “Phapang Bamboo gas : PBG” ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้ครัวเรือนได้ถึง 65%
เราไม่ได้หยุดแค่นวัตกรรมต้นแบบ ยังได้ผลิต “ช่างชุมชน” หลายร้อยคน เพื่อให้ผลิตนวัตกรรม Micro Off-grid Hybrid Syngass-Solar-Battery และนวัตกรรมผลิตก๊าซจากถ่านไผ่ให้เป็น โดยนำนักเรียนช่างเทคนิค และประชาชนในชุมชนเอง และในพื้นที่ห่างไกลต่างๆโดยรอบมาอบรมอย่างต่อเนื่อง สำหรับที่ผาปัง นอกจากผลิตไฟฟ้าใช้เองแล้ว อีกไม่นานเราจะสามารถประกาศเป็น “หมู่บ้านไม่มี LPG” เพราะผลิตได้เองทั้งหมด ขณะที่พื้นที่ห่างไกลอื่นๆก็เรียนรู้จากเรานำไปประยุกต์ใช้
นอกจากนี้ผาปัง ยังได้ตั้ง “บริษัทถ่านไผ่ผาปัง” ขึ้นแล้ว เพื่อส่งเสริมให้มีการปลูกไผ่แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพราะได้ศึกษาข้อมูลมา พบว่า “ไผ่” สามารถเพิ่มมูลค่า และสร้างรายได้ให้ชุมชน จากขายไผ่หน่อ รายได้ 40,000 บาท หากเป็นไผ่ลำและไผ่ถ่าน 60,000 บาท แปรรูปเป็นไม้เสียบเอนกประสงค์ 87,500 บาท ภาชนะไบโอ และไผ่ถ่านปุ๋ย 120,000 บาท ถ้าเป็นไผ่ถ่านอุตสาหกรรมสร้างรายได้ 320,000 บาท ผลิตเป็นเวชสำอาง 2 ล้านบาท สูงสุดผลิตเป็นยารักษาโรคสร้างมูลค่าได้ถึง 5 ล้านบาทต่อไร่ต่อปี
โมเดล “ผาปัง” ปังสมชื่อ เพราะภายหลัง นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ได้เดินทางมาศึกษาดูงาน เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ถึงกับพรรณาว่า ตอนที่เขาคิดพลังงานชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ยังไม่มั่นใจว่าจะเกิดได้จริงเป็นรูปธรรม จนมาเห็นในหลายๆพื้นที่ โดยเฉพาะที่ผาปัง
ทำให้มั่นใจว่าเรื่องนี้เป็นจริงได้ ลดค่าใช้จ่ายสร้างรายได้ และสามารถพลิกฟื้นพื้นที่ที่เคยแห้งแล้ง มาเป็นพื้นที่ที่มีความมั่นคงทางพลังงานในชุมชนด้วยตนเอง
ดังนั้นจะนำโมเดลของผาปังบรรจุอยู่ในแผนพลังงานชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานราก เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะนำไปทำในพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะพื้นที่ที่สายส่งไฟฟ้าเข้าไปไม่ถึง และไม่จำเป็นต้องเป็น “ไผ่” แต่ขึ้นอยู่กับบริบทท้องถิ่นว่า ที่นั่นมีศักยภาพอะไรที่จะนำมาใช้ประโยชน์ ลดค่าใช้จ่าย และสร้างรายได้ให้ชุมชนได้บ้าง
ทั้งนี้เราจะใช้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานมาสนับสนุน หรือโครงการกิจการเพื่อสังคมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หรือบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) หรือบริษัทเอกชนต่างๆ มาสนับสนุนให้เกิดขึ้นได้จริง ขณะเดียวกันก็ต้องพูดคุยกับกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานอื่นๆด้วย อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในเรื่องการจัดการพื้นที่
“ในอีก 1 เดือน แผนพลังงานชุมชนจะแล้วเสร็จ โดยมีผาปังเป็นหนึ่งในเครื่องมือ และนำเข้าครม. ทิศทางของเรา คือ จะใช้เงินทุกเม็ดหนุนเศรษฐกิจฐานราก”
ความคิดเห็น