เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงพื้นที่แปลงปลูกพริกของเกษตรกรที่ใช้เป็นแปลงพยากรณ์พริกขี้หนู ซึ่งเกษตรกรได้ปลูกพริกพันธุ์ซุปเปอร์แซบ ในพื้นที่ 2 ไร่
โดยปลูกในรูปแบบแซมระหว่างแถวของปาล์มในสวนปาล์ม พื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีเกษตรกรเจ้าของแปลง ร่วมสำรวจ ซึ่งกำลังติดดอกออกผล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแปลงปลูกที่เกษตรกรไม่ใช้สารเคมี โดยใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าในการป้องกันแมลงศัตรูพืช และเสริมการเจริญเติบโตของต้นพริกด้วยฮอร์โมน
ซึ่งจากการสำรวจโดยละเอียดของเจ้าหน้าที่พบว่าผลพริกเริ่มมีอาการเป็นโรคแอน แทรคโนส หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปในหมู่เกษตรกรว่ากุ้งแห้ง และใบเป็นโรคใบจุดตากบ ในการนี้เจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้รีบขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่ามาใช้ในแปลงให้มากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโรคดังกล่าว
ทั้งนี้เป็นที่คาดกันว่าแปลงปลูกพริกของเกษตรกรรายนี้ทั้งฤดูกาลน่าจะได้ผลผลิตประมาณกว่า 2 ตัน
โรคแอนแทรคโนส หรือกุ้งแห้งแท้ในพริก ผลพริกที่ถูกเชื้อจะเกิดจุดฉ่ำน้ำเล็ก ๆ ต่อมาแผลขยายขนาดออกไปในลักษณะเป็นวงรี หรือ กลม เกิดเป็นวงซ้อน ๆ กันเป็นชั้น ๆ บริเวณกลางแผลมีส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อสีดำหรือ สีส้มอ่อน ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ ถ้าปล่อยไว้ผลพริกจะแห้งไปทั้งผล ถ้าเชื้อสาเหตุเข้าทำลายตั้งแต่ในระยะผลเขียว ผลพริกมักจะแห้งคาต้นไม่ค่อยร่วงหล่นไป แต่ถ้าเชื้อเข้าทำลายในระยะผลแดง ผลพริกมักจะร่วงหล่นไป กลายเป็นการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง
โรคนี้ปกติจะระบาดในสภาพความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 95% และอุณหภูมิ ระหว่าง 27- 32 องศาเซลเซียส เริ่มแรกจะเป็นจุดเล็ก ๆ บนใบอ่อน มองดูใสกว่าเนื้อใบรอบ ๆ จุดนี้จะขยายออกเป็นวงขนาดต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความชื้นและความแก่อ่อนของใบ โดยจะเห็นขอบแผลชัดเจนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ในสภาพความชื้นสูง แผลที่เกิดบนใบอ่อนมาก ๆ จะมีขนาดใหญ่ ขยายออกได้รวดเร็ว และมีจำนวนแผลมากติดต่อกันทั้งผืนใบ ทำให้ใบแห้งทั้งใบหรือใบบิดเบี้ยว
อาการบนเม็ดพริกจะเป็นจุดสีดำ รูปร่างกลม หรือรูขนาดตั้งแต่เล็กเท่าหัวเข็มหมุด จนถึงขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์ กลาง 2–4 ซม. แล้วแต่ความรุนแรง บริเวณแผลจะพบรอยแตกและมีเม็ดเล็ก ๆ สีดำเรียงรายเป็นวงภายในแผลและลุกลามออกไป ทำให้ผลเน่าทั้งเม็ดได้ อาการจุดเน่าดำบนผลนี้พบทำความเสียหายกับพริกเกือบทุกพันธุ์
ส่วนสาเหตุที่เกิดโรคนี้ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมในการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่มักใช้หลากหลายชนิดตามคำแนะนำของผู้ขายสารเคมี พร้อมทั้งใช้ปุ๋ยทางใบ และปุ๋ยน้ำชีวภาพ และใช้ฮอร์โมนพืช
หากเกษตรกรผู้ปลูกพริกลดและเลิกการใช้สารเคมีเหล่านี้ ควบคู่กับการดูแลรักษาความสะอาดในแปลงปลูก ด้วยการเก็บผลพริกที่เป็นโรคออกจากแปลงให้หมด โดยทำอย่างต่อเนื่องโอกาสในการระบาดของโรคก็จะลดลงและหมดไปในที่สุด
ที่มา เดลินิวส์
โดยปลูกในรูปแบบแซมระหว่างแถวของปาล์มในสวนปาล์ม พื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีเกษตรกรเจ้าของแปลง ร่วมสำรวจ ซึ่งกำลังติดดอกออกผล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแปลงปลูกที่เกษตรกรไม่ใช้สารเคมี โดยใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าในการป้องกันแมลงศัตรูพืช และเสริมการเจริญเติบโตของต้นพริกด้วยฮอร์โมน
ซึ่งจากการสำรวจโดยละเอียดของเจ้าหน้าที่พบว่าผลพริกเริ่มมีอาการเป็นโรคแอน แทรคโนส หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปในหมู่เกษตรกรว่ากุ้งแห้ง และใบเป็นโรคใบจุดตากบ ในการนี้เจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้รีบขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่ามาใช้ในแปลงให้มากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโรคดังกล่าว
ทั้งนี้เป็นที่คาดกันว่าแปลงปลูกพริกของเกษตรกรรายนี้ทั้งฤดูกาลน่าจะได้ผลผลิตประมาณกว่า 2 ตัน
โรคแอนแทรคโนส หรือกุ้งแห้งแท้ในพริก ผลพริกที่ถูกเชื้อจะเกิดจุดฉ่ำน้ำเล็ก ๆ ต่อมาแผลขยายขนาดออกไปในลักษณะเป็นวงรี หรือ กลม เกิดเป็นวงซ้อน ๆ กันเป็นชั้น ๆ บริเวณกลางแผลมีส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อสีดำหรือ สีส้มอ่อน ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ ถ้าปล่อยไว้ผลพริกจะแห้งไปทั้งผล ถ้าเชื้อสาเหตุเข้าทำลายตั้งแต่ในระยะผลเขียว ผลพริกมักจะแห้งคาต้นไม่ค่อยร่วงหล่นไป แต่ถ้าเชื้อเข้าทำลายในระยะผลแดง ผลพริกมักจะร่วงหล่นไป กลายเป็นการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง
โรคนี้ปกติจะระบาดในสภาพความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 95% และอุณหภูมิ ระหว่าง 27- 32 องศาเซลเซียส เริ่มแรกจะเป็นจุดเล็ก ๆ บนใบอ่อน มองดูใสกว่าเนื้อใบรอบ ๆ จุดนี้จะขยายออกเป็นวงขนาดต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความชื้นและความแก่อ่อนของใบ โดยจะเห็นขอบแผลชัดเจนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ในสภาพความชื้นสูง แผลที่เกิดบนใบอ่อนมาก ๆ จะมีขนาดใหญ่ ขยายออกได้รวดเร็ว และมีจำนวนแผลมากติดต่อกันทั้งผืนใบ ทำให้ใบแห้งทั้งใบหรือใบบิดเบี้ยว
อาการบนเม็ดพริกจะเป็นจุดสีดำ รูปร่างกลม หรือรูขนาดตั้งแต่เล็กเท่าหัวเข็มหมุด จนถึงขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์ กลาง 2–4 ซม. แล้วแต่ความรุนแรง บริเวณแผลจะพบรอยแตกและมีเม็ดเล็ก ๆ สีดำเรียงรายเป็นวงภายในแผลและลุกลามออกไป ทำให้ผลเน่าทั้งเม็ดได้ อาการจุดเน่าดำบนผลนี้พบทำความเสียหายกับพริกเกือบทุกพันธุ์
ส่วนสาเหตุที่เกิดโรคนี้ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมในการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่มักใช้หลากหลายชนิดตามคำแนะนำของผู้ขายสารเคมี พร้อมทั้งใช้ปุ๋ยทางใบ และปุ๋ยน้ำชีวภาพ และใช้ฮอร์โมนพืช
หากเกษตรกรผู้ปลูกพริกลดและเลิกการใช้สารเคมีเหล่านี้ ควบคู่กับการดูแลรักษาความสะอาดในแปลงปลูก ด้วยการเก็บผลพริกที่เป็นโรคออกจากแปลงให้หมด โดยทำอย่างต่อเนื่องโอกาสในการระบาดของโรคก็จะลดลงและหมดไปในที่สุด
ที่มา เดลินิวส์
ความคิดเห็น